วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 4

บทที่  4  การตกแต่งเอกสาร 1
ขั้นตอนการเลือกฟอนต์ (Font)
          ฟอนต์ (Font) หรือแบบอักษร ในแต่ละฟอนต์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันและจะมีชื่อกำกับอยู่เสมอ เช่น AngsanaUPC, Arial, Times New Roman ฯลฯ ในเอกสารทั่วไปนิยมใช้รูปแบบอักษรมากกว่าหนึ่งแบบ อาจเป็นเพราะต้องการความสวยงามหรือเพื่อความเหมาะสมกับชนิดของเอกสาร
          การเลือกใช้งานฟอนต์ควรเหมาะกับกาละเทศะ หากเราส่งจดหมายถึงเพื่อนจะใช้ฟอนต์อะไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นเอกสารราชการหรือจดหมายสมัครงานก็ควรเลือกรูปแบบฟอนต์ที่มีลักษณะเป็นทางการ การพิจารณาว่าฟอนต์ไหนเป็นทางการหรือไม่ให้ดูจากเอกสารที่มีอยู่ ว่าเขาใช้ฟอนต์อะไรกันบ้าง ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน
          แต่ละฟอนต์สามารถเปลี่ยนขนาดได้ แต่ละขนาดจะถูกกำหนดเป็นพอยท์ (Point หรือ Pt) การเพิ่มขนาดก็คือการเพิ่มพอยท์ เช่น ฟอนท์ขนาด 14 พอยท์จะมีขนาดเล็กกว่าฟอนต์ 20 พอยต์ แต่ไม่ควรนำฟอนต์ต่างกันมาเปรียบเทียบกัน เพราะแต่ละฟอนต์มีขนาดมาตรฐานไม่เท่ากัน
          ฟอนต์แต่ละชนิดจะมีสัญลักษณ์พิเศษที่แสดงคุณสมบัติของฟอนต์อยู่ข้างหน้าชื่อ เช่น สัญลักษณ์  หมายถึง ฟอนต์แบบ TrueType คือจะให้ผลลัพธ์การพิมพ์เหมือนกับที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการเลือกฟอนต์ดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. คลิกที่ลูกศรด้านข้างรายการฟอนต์  ฟอนต์จะแสดงรูปแบบอักษรมาให้เลือก
  3. คลิกเลือกฟอนต์จากรายการ ข้อความที่เราเลือกไว้ก็จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบที่เราเลือก
การเปลี่ยนขนาดฟอนต์ (Font)
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. คลิกที่ลูกศรด้านข้างขนาดฟอนต์  ฟอนต์จะแสดงขนาดตัวอักษรมาให้เลือก
  3. คลิกเลือกขนาดฟอนต์จากรายการ ข้อความที่เราเลือกไว้ก็จะเปลี่ยนขนาดเป็นขนาดที่เราเลือก
อักษรตัวหนา ตัวเอียงและขีดเส้นใต้
          เอกสารทั่วๆ ไป มักจะเน้นข้อความบางจุดเพื่อให้ผู้อ่านสนใจ เช่น ขีดเส้นใต้หัวเรื่อง หรือทำตัวหนาในคำศัพท์ยากๆ ด้วยเหตุนี้การเน้นข้อความจึงมักพบในเอกสารทุกชิ้น การเน้นข้อความสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. คลิกเลือกแบบของการเน้นข้อความที่ต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
    • คลิกที่ปุ่ม  สำหรับการทำตัวหนา หรือกด Ctrl + B
    • คลิกที่ปุ่ม  สำหรับการทำตัวเอียง หรือกด Ctrl + I
    • คลิกที่ปุ่ม  สำหรับการขีดเส้นใต้ หรือกด Ctrl + U
  3. วิธีการเน้นข้อความทั้งสามแบบสามารถทำพร้อมๆ กันได้ หากเราใช้ปุ่มใดจะสังเกตว่าปุ่มนั้นจะยุบลงไปแสดงว่าข้อความนั้นมีคุณสมบัตินั้นแล้ว ถ้าต้องการยกเลิกการเน้นข้อความแบบใดให้คลิกที่ปุ่มนั้นซ้ำอีกครั้ง ปุ่มนั้นก็จะกลับคืนสู่สภาวะปกติ คือนูนขึ้นมา
อักษรตัวยกและตัวห้อย
          ข้อความหลายประเภทต้องใช้อักษรตัวยกหรือตัวห้อย ได้แก่ สูตรทางเคมีหรือสูตรคณิตศาสตร์ วิธีการทำให้ข้อความเป็นตัวยกหรือตัวห้อยมีรายละอียดดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการหรืออาจเป็นตัวเลข หรือชุดของข้อมูลก็ได้
  2. เลือกคำสั่ง Format > Font (รูปแบบ > แบบอักษร)
     3.   คลิกแท็บ Font (แบบอักษร)
     4.   กำหนดว่าจะให้ตัวอักษรที่เลอกเป็นตัวห้อยหรือตัวยก โดยเลือกเงื่นไขต่อไปนี้
           -   คลิกเลือก Subscript (ตัวห้อย) หากต้องการอักษรตัวห้อย
           -   คลิกเลือก Superscript (ตัวยก) หากต้องการอักษรตัวยก
     5.    คลิกปุ่ม OK
การเพิ่มสีสันให้กับตัวอักษร
          วิธีเปลี่ยนสีข้อความให้ต่างไปจากส่วนอื่นในเอกสาร จะช่วยให้ข้อความเด่นชัดขึ้น ซึ่งวิธีการเปลี่ยนสีข้อความมีรายละเอียดดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. คลิกที่ลูกศรด้านข้างปุ่ม 
  3. คลิกเลือกสีที่ต้องการ
การเพิ่มชีวิตชีวาให้กับตัวอักษร (Animation Text)
          การเพิ่มชีวิตชีวาให้กับตัวอักษรนี้ คือ การการสร้างอักษรเคลื่อนไหวหรือ Animation Text ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเราในการเน้นข้อความให้เด่นขึ้น มีวิธีการดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. เลือกคำสั่ง Format > Font (รูปแบบ > แบบอักษร) จะได้กรอบโต้ตออบดังรูป
     3.   คลิกที่แท็บ Animation (อักษรเคลื่อนไหว)
     4.   คลิกเลือกรูปแบบอักษรเคลื่อนไหวที่ต้องการในช่อง Animations
     5.   คลิกเลือกปุ่ม OK
การวางตำแหน่งข้อความ
          โปรแกรม Microsoft Word สามารถจัดวางข้อความให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ การจัดวางข้อความมีรายละเอียดดังนี้
  1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนฟอนต์ ซึ่งสามารถเลือกคำ ประโยค ย่อหน้า หรือทั้งเอกสารก็ได้โดยการทำแถบดำทับข้อความ
  2. คลิกเลือกปุ่มการจัดข้อความ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  3. ปุ่ม  หมายถึง วางข้อความชิดซ้าย
  4. ปุ่ม  หมายถึง วางข้อความไว้ตรงกลาง
  5. ปุ่ม  หมายถึง วางข้อความชิดขวา
  6. ปุ่ม  หมายถึง วางข้อความกระจายเต็มบรรทัด
  7. ปุ่ม  หมายถึง วางข้อความกระจายเต็มบรรทัด แต่เฉลี่ยระยะห่างระหว่างตัวอักษรให้เท่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น