ความหมายของการประมวลผลคำ
การประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นการนำหลายๆ คำมาเรียงกันให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนด ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีกี่ตัวอักษรต่อหนึ่งบรรทัด หรือหน้าละกี่บรรทัด กั้นระยะหน้าหลังเท่าไร และสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างสะดวกจนกว่าจะพอใจแล้วจึงสั่งพิมพ์เอกสารนั้นๆ ออกมากี่ชุดก็ได้ ซึ่งเอกสารที่ได้จะเหมือนกันทุกประการ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำให้เราสามารถทำงานกับเอกสารและสั่งงานต่างๆ นี้ได้ มีชื่อเรียกว่า โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์ (Word Processing)
วิวัฒนาการของโปรแกรมประมวลผลคำ
โปรแกรมประมวลผลคำยุคแรก ๆ ใช้โปรแกรมของต่างประเทศ เช่น โปรแกรม WORDSTAR ของบริษัทไมโครโปร จำกัด ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ชาวไทยนัก ต่อมาในปี 2529 นายแพทย์ชุษณะ มะกรสาร ได้พัฒนาโปรแกรมประมวลผลคำที่มีชื่อว่า ราชวิถี ซึ่งโปรแกรมนี้เขียนขึ้นด้วยภาษา Assembly ทั้งหมด การใช้งานเหมือนกับโปรแกรม WORDSTAR แต่สามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้ และมีการปรับปรุงพัฒนามาเรื่อยๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างสูงสุดในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 สถาบันบริการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันพัฒนาโปรแกรมประมวลผลคำภาษาไทยและอังกฤษ โดยออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถในการทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมประมวลผลคำอื่น ๆ โดยตั้งชื่อว่า "ซียูไรด์เตอร์ " (CU Writer)" มีลักษณะการทำงานเหมือน WORDSTAR และประกาศให้ใช้เป็นโปรแกรมสาธารณะ (Public Domain) การประมวลผลคำในปัจจุบันจะใช้ชุดซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จ (Package) ชุดซอฟแวร์นี้บางทีเรียกว่า โปรแกรมชุดสำนักงาน (Office Program)โดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอร์เรชัน จำกัด (Microsoft Corporation) ได้ผลิตโปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office) ออกสู่ตลาดครั้งแรกมีชื่อว่า ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ รุ่น 4.3 ซึ่งประกอบด้วย เวิร์ด (WORD) เป็นซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) เอกซ์เซล (Excel) เป็นซอฟต์แวร์ตารางทำการ แอ็กเซส (Acess) เป็นซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูล (Database Software) พาวเวอร์พอยต์ (PowerPoint) เป็นซอฟต์แวร์นำเสนอภาพกราฟิก (Presentation Software)ซึ่งได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ไมโครซอฟต์เวิร์ด 2.0 และ 6.0 เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.1 และพัฒนาปรับบปรุงเป็นโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 7.0 หรือไมโครซอฟออฟฟิศ 95 ต่อมาเป็น 97 เป็น 2000 ต่อมาเป็น 2002 และโมโครซอฟต์ออฟฟิศ เอกซ์ พี(รุ่นล่าสุด) ซึ่งจะทำงานบนระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows) ของบริษัทไมโครซอฟต์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ (License)
โปรแกรมประมวลผลคำยุคแรก ๆ ใช้โปรแกรมของต่างประเทศ เช่น โปรแกรม WORDSTAR ของบริษัทไมโครโปร จำกัด ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ชาวไทยนัก ต่อมาในปี 2529 นายแพทย์ชุษณะ มะกรสาร ได้พัฒนาโปรแกรมประมวลผลคำที่มีชื่อว่า ราชวิถี ซึ่งโปรแกรมนี้เขียนขึ้นด้วยภาษา Assembly ทั้งหมด การใช้งานเหมือนกับโปรแกรม WORDSTAR แต่สามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้ และมีการปรับปรุงพัฒนามาเรื่อยๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างสูงสุดในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 สถาบันบริการคอมพิวเตอร์ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันพัฒนาโปรแกรมประมวลผลคำภาษาไทยและอังกฤษ โดยออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถในการทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมประมวลผลคำอื่น ๆ โดยตั้งชื่อว่า "ซียูไรด์เตอร์ " (CU Writer)" มีลักษณะการทำงานเหมือน WORDSTAR และประกาศให้ใช้เป็นโปรแกรมสาธารณะ (Public Domain) การประมวลผลคำในปัจจุบันจะใช้ชุดซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จ (Package) ชุดซอฟแวร์นี้บางทีเรียกว่า โปรแกรมชุดสำนักงาน (Office Program)โดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอร์เรชัน จำกัด (Microsoft Corporation) ได้ผลิตโปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office) ออกสู่ตลาดครั้งแรกมีชื่อว่า ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ รุ่น 4.3 ซึ่งประกอบด้วย เวิร์ด (WORD) เป็นซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) เอกซ์เซล (Excel) เป็นซอฟต์แวร์ตารางทำการ แอ็กเซส (Acess) เป็นซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูล (Database Software) พาวเวอร์พอยต์ (PowerPoint) เป็นซอฟต์แวร์นำเสนอภาพกราฟิก (Presentation Software)ซึ่งได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ไมโครซอฟต์เวิร์ด 2.0 และ 6.0 เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.1 และพัฒนาปรับบปรุงเป็นโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 7.0 หรือไมโครซอฟออฟฟิศ 95 ต่อมาเป็น 97 เป็น 2000 ต่อมาเป็น 2002 และโมโครซอฟต์ออฟฟิศ เอกซ์ พี(รุ่นล่าสุด) ซึ่งจะทำงานบนระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Windows) ของบริษัทไมโครซอฟต์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ (License)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น